ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ [2]
หมวด ๓ ส่วนที่ ๑ มาตรา ๒
ให้สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดจัดให้มีสภาเด็กและ
เยาวชนอำเภอขึ้น
โดยมีสมาชิกประกอบด้วยเด็กและเยาวชนที่อยู่ในเขตอำเภอนั้นให้มีคณะบริหารสภา
เด็กและเยาวชนอำเภอ
ประกอบด้วยประธานสภาคนหนึ่งและผู้บริหารอีกไม่เกินสิบห้าคน
ซึ่งคัดเลือกกันเองจากผู้แทนนักเรียนหรือนักศึกษาจากสถานศึกษาตามกฎหมายว่า
ด้วยการศึกษาแห่งชาติที่อยู่ในเขตอำเภอ ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นขึ้นไป
และผู้แทนเด็กและเยาวชน ซึ่งไม่ได้อยู่ในสังกัดสถานศึกษา
ให้คณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนอำเภอปรึกษาหารือร่วมกันเพื่อกำหนดแนวทางในการ
จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กและเยาวชนในเขตอำเภอ
และดำเนินการอื่นที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งสภาเด็ก
และเยาวชนอำเภอ ให้พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด
ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ดูแลอำเภอนั้น
ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และผู้แทนองค์กรเอกชนหรือองค์กรชุมชนที่มีกิจกรรมหรือผลงานเกี่ยวกับการ
พัฒนาเด็กและเยาวชน เป็นที่ปรึกษาคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนอำเภอ
ในวาระเริ่มแรก
ให้ดำเนินการจัดให้มีสภาเด็กและเยาวชนอำเภอให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับ
แต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิเด็กและเยาวชน ขององค์การสหประชาชาติ ข้อ 1. เด็กและเยาวชนพึงได้รับสิทธิเท่าเทียมกันโดยปราศจากการแบ่งแยกหรือกีดกัน ไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ ในเรื่อง เชื้อชาติ ผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมือง เผ่าพันธุ์แห่งชาติหรือสังคมทรัพย์สิน กำเนิด หรือสถานะอื่น ๆ ไม่ว่าจะของเด็กหรือของครอบครัวก็ตาม[3] อีกทั้งพระราชบัญญัติส่ง
เสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๘
ให้สำนักงานหรือสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดร่วมมือ
ส่งเสริม
และประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อ
จัดทำแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในระดับท้องถิ่นให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเด็กและ
เยาวชนแห่งชาติและให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนา
เด็กและเยาวชนที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบ มาตรา ๙
เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเด็กและเยาวชน ให้หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่
เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือ ส่งเสริม
และสนับสนุนการดำเนินงานของสภาเด็กและเยาวชนอำเภอ สภาเด็กและเยาวชนจังหวัด
สภาเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร และสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย[4] ประกอบกับ พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 [5]
มาตรา 53 ให้ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ และ
พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้อง
ถิ่น[6]
มาตรา 16 ให้เทศบาล เมืองพัทยา
และองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ
เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง (10) การสังคมสงเคราะห์
และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
จากภารกิจดังกล่าวของเทศบาลจะเห็นได้ว่าเทศบาลมีภารกิจสำคัญในด้านเด็ก
และเยาวชน จึงได้จัดตั้งสภาเด็กและเยาวชนเทศบาลตำบลเขาพระงาม อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรีขึ้น
เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาเด็กและเยาวชนของเทศบาลตำบลเขาพระงาม
วันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
แผนชุมชนคืออะไร
แผนชุมชน
หมายถึง กิจกรรมพัฒนาที่เกิดขึ้นจากคนในชุมชนที่มีการรวมตัวกันเพื่อจัดทำแผนขึ้นมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาชุมชนหรือท้องถิ่นของตนเอง ให้เป็นไปตามที่ต้องการและสามารถแก้ปัญหาที่ชุมชนเผชิญอยู่ร่วมกันได้ โดยคนในชุมชนได้มาร่วมกันคิดร่วมกำหนดแนวทาง และกิจกรรมการพัฒนาของชุมชน โดยยึดหลักการพึ่งพาตนเอง ลดการพึ่งพิงภายนอก ด้วยการคำนึงถึงศักยภาพ ทรัพยากร ภูมิปัญญา วิถีชีวิต วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นเป็นหลัก ซึ่งบางกิจกรรมที่ชุมชนไม่สามารถทำเองได้ ก็สามารถขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกได้ โดยชุมชนเสนอแผนชุมชนเข้าเป็นแผนขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)หรือแผนงาน/โครงการของราชการได้ แผนชุมชนมีชื่อเรียกแตกต่างกันตามความเข้าใจของแต่ละท้องถิ่น อาทิ แผนแม่บทชุมชน แผนชุมชนพึ่งตนเอง แผนชีวิต เป็นต้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)